วันเสาร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ดอกรักเร่

                                                                    

ดอกรักเร่
ดอกวงนอกรูป รางน้ำ ชั้นเดียวหรือหลายชั้น ดอกวงในเป็นหลอดปลายจัก 5 แฉกผลแบนนิเวศวิทยา - ถิ่นกำเหนิด เม็กซิโกออกดอก -ตลอดปีขยายพันธุ์ - เมล็ด หัวใต้ดินประโยชน์ - หัวใต้ดิน ต้มกับหมูรับประทานแก้โรคหัวใจ แก้ไข้ต้น น้ำคั้นจากต้นมีฤทธิ์เป็นยาปฏิชีวนะอ่อน ๆ ฆ่าเชื้อStaphylococcusใบ บางทีมีพิษ

ดอกรักเร่จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรีรักเร่ เป็นดอกไม้ที่มีถิ่นกำเนิดในเม็กซิโก โคลัมเบีย และทั่วไปในทวีปอเมริกากลาง ดอกมีรูปทรงและสีสันสวยงาม ก้านดอกแข็งแรง นิยมปลูกเป็นไม้ตัดดอกเช่นเดียวกับกุหลาบ แต่ในประเทศไทยไม่นิยมปลูกเพราะชื่อไม่เป็นมงคลนั่นเอง ในอเมริกามีคดีฆาตกรรมชื่อดังที่ยังเป็นปริศนามาถึงทุกวันนี้ชื่อว่า  Black Dahlia

ชื่อวิทยาศาสตร์    DAHLIA HYBRID
วงศ์               COMPOSITAE
ชื่อสามัญ            GARDEN DAHLIA
ลักษณะทั่วไป
ลักษณะเป็นไม้ล้มลุก มีหัวใต้ดิน สูง 40-100 ซม. ใบเป็นใบเดี่ยว หรือใบประกอบ มีใบย่อย 3 ใบ ออกตรงกันข้าม ปลายใบ แหลม ขอบใบจักร โคนใบสอบ มีขนละเอียด สีเขียวสด
ดอกมีหลายสี ออกเป็นดอกเดี่ยวๆที่ปลายยอด มีริ้วประดับ 2-3 ชั้น ดอกวงนอกรูปรางน้ำหลายชั้น บางสายพันธุ์ชั้นเดียว ดอกวงในเป็นหลอด ปลายจักร 5 แฉก มีหลายสีตามที่กล่าวข้างต้น เช่น ชมพู ส้ม ขาว เหลือง และ สองสีในดอกเดียว เป็นต้น ดอกเมื่อบานเต็มที่จะมีขนาดใหญ่ ดอกออกตลอดปี “ผล” แบน มีเมล็ด ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดและหัวใต้ดิน เติบโตได้ดีในดินร่วนปนทราย ชอบแดด ไม่ชอบน้ำท่วมขัง เมื่อมีดอกและดอกร่วงโรยต้นจะยุบ แต่จะแตกต้นขึ้นมาใหม่ได้จากหัวที่ฝังอยู่ใต้ดิน
ประโยชน์ หัวใต้ดินต้มกับหมูสับรับประทานแก้โรคหัวใจ แก้ไข้ต้น หรือไข้หัวลมดีมาก น้ำคั้นจากต้นมีฤทธิ์เป็นยาปฏิชีวนะอ่อนๆ ฆ่าเชื้อ STAPHYLOCOCCUS     

ดอกกุหลาบ


ดอกกุหลาบ
เป็นดอกไม้เมืองหนาวของไทย ไม้ประดับที่มีความสวยงามเป็นที่นิยมปลูกเป็นไม้ดอกไม้ประดับกันอย่างกว้าง ขวาง กุหลาบมีมากมายหลายพันธุ์ มีทั้งชนิดที่มีกลิ่นหอม และชนิดที่ไม่มีกลิ่น ภาพชุดนี้ได้รว
บรวมกุหลาบชนิดต่างๆ มาให้ชม บางชนิดอาจจะคุ้นตา แต่บางชนิดไม่ค่อยมีให้เห็น ภาพชุดนี้เป็น ดอกไม้เมืองหนาวของไทย กุหลาบเมืองเหนือ จากสถานีเกษตรดอยอ่างขาง ซึ่งเป็นแหล่งรวมรวบกุหลาบหลากสายพันธุ์


ประวัติดอกกุหลาบ 
กุหลาบเป็นดอกไม้ที่นิยมปลูกมาแต่โบราณ ว่ากันว่ากุหลาบเกิดขึ้นเมื่อ 70 ล้านปีมาแล้ว และเคยมีการค้นพบฟอสซิลของกุหลาบที่ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยแต่ก่อนกุหลาบนั้นเป็นกุหลาบป่าและมีรูปร่างไม่เหมือนในทุกวันนี้ แต่เนื่องจากมนุษย์ได้นำเอากุหลาบป่ามาปลูกและผสมพันธุ์จนขยายเป็นพันธุ์ต่าง ๆ มากมาย    ตามประวัติศาสตร์เล่าว่ากุหลาบป่าถูกนำมาปลูกไว้ในพระราชวังของจักรพรรดิ์ ในสมัยราชวงศ์ฮั่นราว 5,000 ปีมาแล้ว ขณะที่อียิปต์เองก็ปลูกกุหลาบเป็นไม้ดอกส่งไปขายให้แก่ชาวโรมัน เพราะชาวโรมันเป็นชาติที่รักดอกกุหลาบมาก แม้ว่าจะสั่งซื้อจากประเทศอียิปต์แล้วก็ตาม แต่ก็ยังลงทุนสร้างสถานที่ขนาดใหญ่สำหรับปลูกดอกกุหลาบอีกด้วย เพราะสำหรับชาวโรมันแล้วดอกกุหลาบนั้นมีความสำคัญต่อชีวิตประจำวัน อีกทั้งชาวโรมันถือว่าดอกกุหลาบเป็นสัญลักษณ์ของความรัก เป็นทั้งของขวัญ และเป็นดอกไม้สำหรับทำมาลัยต้อนรับแขก รวมถึงเป็นดอกไม้สำหรับงานฉลองต่าง ๆ แถมยังเป็นส่วนประกอบสำหรับทำขนม ทำไวน์ และยาได้อีกด้วย 

          และเมื่อเอ่ยถึงดอกกุหลาบแล้ว หลาย ๆ คนก็คงจะนึกถึงเรื่องความรัก เพราะกุหลาบถือเป็นสัญลักษณ์ของความรักและความโรแมนติก โดยมีบางตำนานเล่าว่า ดอกกุหลาบเป็นเสมือนเครื่องหมายแทนการกำเนิดของ เทพธิดาวีนัส ซึ่งเป็นเทพแห่งความงามและความรัก วีนัสเป็นที่รู้จักกันในชื่อ อโฟรไดท์ ในตำนานเทพของกรีกได้กล่าวไว้ว่า น้ำตาของเธอหยดลงปะปนกับเลือดของ อคอนิส คนรักของเธอที่ถูกหมูป่าฆ่า เลือดและน้ำตาหยดลงสู่พื้นแล้วกลายเป็นดอกไม้สีแดงเข้มหรือดอกกุหลาบนั่นเอง แต่บางตำนานก็เล่าว่าดอกกุหลาบเกิดจากเลือดของ อโฟรไดท์ เองที่หยดลงสู่พื้น เมื่อเธอแทงตัวเองด้วยหนามแหลม 

          แม้จะไม่มีการบันทึกอย่างชัดเจนว่าดอกกุหลาบนั้นเข้ามาเกี่ยวข้องกับบ้านเราตอนไหน แต่จากบันทึกของ ลา ลูแบร์ ราชทูตฝรั่งเศสในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้บันทึกไว้ว่าเห็นกุหลาบที่กรุงศรีอยุธยา และในกาพย์ห่อโคลงนิราศธารโศกสมัยกรุงศรีอยุธยา ซึ่งเป็นพระราชนิพนธ์ของเจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร์ ก็ได้มีการกล่าวถึงกุหลาบเอาไว้ และยังมีตำนานดอกกุหลาบของไทยที่เป็นบทละครพระราชนิพนธ์ของรัชกาลที่ 6 เรื่อง มัทนะพาธา ในเรื่องเล่าถึงเทพธิดาองค์หนึ่งชื่อ "มัทนา" ซึ่งได้มีเทพบุตรองค์หนึ่งชื่อ "สุเทษณะ" ซึ่งพระองค์ทรงหลงรักเทพธิดา "มัทนา" มาก แต่นางไม่มีใจรักตอบ จึงถูกสาปให้ไปเกิดเป็นดอกกุหลาบ จึงกลายเป็นตำนานดอกกุหลาบแต่นั้นมา 

ดอกทิวลิป


ดอกทิวลิป

            ทิวลิปจะเป็นดอกไม้ที่ทำให้นึกถึงฮอลแลนด์ แต่ทั้งดอกไม้และชื่อมีที่มาจากจักรวรรดิเปอร์เชีย ทิวลิปหรือ“lale” (จากเปอร์เชีย “lâleh”) เช่นเดียวกับที่เรียกกันในตุรกี เป็นดอกไม้ท้องถิ่นของตุรกีอิหร่านอัฟกานิสถาน และบางส่วนของเอเชียกลางแม้ว่าจะไม่ทราบว่าผู้ใดเป็นผู้นำทิวลิปเข้ามาทางตะวันตกเฉียงเหนือของยุโรปแต่ที่สำคัญคือตุรกีเป็นผู้ทำให้ทิวลิปมีชื่อเสียงที่นั่น เรื่องที่เป็นที่ยอมรับกันก็คือ OghierGhislain de Busbecq


ดอกบัว


บัว
ดอกบัว บัว เป็นไม้น้ำที่มีดอกสวยงามเป็นที่นิยมปลูกประดับตามบ้านและตามสวนหย่อม บัว ของไทยมีหลายชนิด แบ่งเป็นประเภทได้ดังนี้
ดอกบัว
บัวหลวง หรือดอกบัวที่ใช้จัดแจกันบูชาพระ มีดอกและใบชูขึ้นเหนือน้ำ ใบสีเขียวนวลค่อนข้างกลม ขอบใบเรียบ ผิวด้านบนมีขนอ่อนๆ และนวล ดอกมี 4 สี ได้แก่ สีขาว สีแดง สีชมพู และสีเหลือง ติดผลเป็นฝัก การขยายพันธุ์ บัวหลวงมีไหล ชอนไชไปตามหน้าดิน ต้นใหญ่จะเกิดมาจากไหลเหล่านั้น ปลูกต้นเดียวถ้าไม่ตายในหนึ่งปีขายออกไปได้เยอะจนกระทั่งเต็มบึง
บัวสาย เป็นบัวที่อยู่ตามหนองบึงที่มีระดับน้ำลึก เป็นบัวที่ชาวบ้านมักนิยมเก็บก้านดอกมาทำอาหาร หรือที่เรียกว่า สายบัว แม้ปัจจุบันนี้ยังนิยมนำมาปรุงอาหารเช่น แกงเลียงสายบัว บัวสายมีใบที่ใหญ่ ขอบใบหยัก มีดอกสีบานเย็น สีขาว และสีชมพู ดอกมีกลิ่นหอมอ่อน   การขยายพันธุ์ บัวสายมีเหง้าอยู่ใต้ดิน เมื่อต้นเก่าโทรมไปเมื่อน้ำแห้ง ครั้นถึงฤดูน้ำท่วมหัวเหล่านั้นก็จะแตกต้นอ่อนขึ้นมาใหม่ และอีกแบบคือการเพาะเมล็ด
บัวผัน บัวเผื่อน  เป็นบัวพื้นเมืองที่ขึ้นอยู่ตามทุ่งนา ตามหนองน้ำ และน้ำคูน้ำริมถนนที่พบเห็นได้ทั่วไปเมื่อเดินทางออกไปตามชนบทที่มีน้ำท่วมขัง ดอกบานตอนเช้าและหุบในตอนเย็น ใบรูปไข่จนถึงกลม ดอกมีหลายกลีบ มีกลิ่มหอม  การขยายพันธุ์ใช้วีธีการเพาะเมล็ด
บัวลูกผสมกลุ่มบัวผัน  บัวผันมีดอกเล็กและมีกลีบดอกน้อย ปัจจุบันได้มีการผสมพันธุ์ผัวบันเกิดเป็นบัวลูกผสมที่กลีบดอกซ้อนสีสันสวยงาม และเป็นที่นิยมปลูกประดับกันทั่วไป บัวประดับที่พบเห็นส่วนใหญ่ล้วนเป็นบัวลูกผสมของกลุ่มบัวผันเกือบทั้งหมด  สำหรับชื่อของพันธุ์ลูกผสมนั้นมีชื่อเรียกกันมากมายแล้วแต่ผู้คิดค้นพันธุ์จะตั้งชื่อ ตั้งชื่อตามเจ้าของบ้าง ตั้งชื่อใหม่ตามจินตนาการบ้าง จดจำกันไม่หวัดไม่ไหว   ขายยพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด
อีกชนิดหนึ่งที่นิยมปลูกในเมืองไทย ได้แก่บัวนอกหรือบัวฝรั่ง มีสีสันสวยงาม มีรูปทรงดอกสวย ใบกลมมันสวย สมัยก่อนมีราคาแพงต้นละ 1000 กว่าบาท ลดลงมาเหลือ 500 บาท 300 บาท จนตอนหลังนี้เหลือกระถางละ 150 บาท ไปจนถึง กระถางละ 50 บาท แต่ไปอาจจะราคา 3 กระถาง 100 ,  แต่ละชนิดมีสีสวยงามทั้งสีขาว สีแดง สีชมพู สีเหลือง ดอกเหลืองเกสรชมพู สารพัด บัวนอกจะมีลำต้นอยู่ใต้ดิน เจริญเติบโตไปทิศทางข้างหน้าลักษณะเหมือนไหลบัว การขยายพันธุ์เพียงแค่ตัดลำต้นออกเป็นท่อนๆ แล้ววางไว้ก็จะแตกกอใหญ่ออกมามากมาย ด้วยเหตุที่ขยายพันธุ์ง่ายจึงทำให้ราคาลดลงอย่างรวดเร็ว

  

ดอกเทียนนกแก้ว


ดอกเทียนนกแก้ว
 ดอกไม้แปลกตาเป็นพรรณไม้เฉพาะถิ่นของไทย หาไม่ได้จากที่ใดๆ ในโลก  จัดอยู่ในกลุ่มของต้นเทียน  มีรูปทรงดอกที่สวยงามเหมือนดั่งนกที่โดนแมวกัดไปครึ่งตัว เราเรียกชื่อตามลักษณะรูปทรงว่า เทียนนกแก้ว จัดอยู่ในกลุ่มพืชล้มลุก ลำต้นอวบน้ำ สูง 0.5-1.5 เมตร ใบเดี่ยวรูปไข่กว้าง โคนใบมน ปลายใบแหลม ขอบใบจัก ขนาดกว้าง 2-4 ซม. ยาว 5-10 ซม.  ลักษณะดอกเหมือนดังที่เห็นในภาพ  ออกเดี่ยวตามก้านใบ หรือปลายยอด ขนาดดอกกว้าง 2-3 ซม. ยาวประมาณ 5-7 ซม. ช่วงเวลาออกดอก  ต.ค. - พ.ย.  ประโยชน์คือ สวย ชมแล้วชื่นใจ
เทียนนกแก้ว เป็นพรรณไม้บนเขาสูงไม่สามารถหาชมได้จากแปลงดอกไม้ตามพื้นราบทั่วไป ระดับความสูงที่พบต้นเทียนนกแก้วคือ 1,500 -1,800 เมตร และพบได้เพียงที่เดียวคือที่ดอยหลวงเชียงดาว ดอกจะบานราวเดือนตุลาคม - พฤศจิกายน คนทั่วไปจึงไม่มีโอกาสได้เห็นเพราะอยู่บนภูเขาสูง การไปชมนั้นจะต้องเดินขึ้นภูเขาไปชม



ดอกบัวตอง


บัวตอง 
เป็นพืชพื้นเมืองของประเทศเม็กซิโกเป็นไม้ดอกมีอายุยืนยาวหลายปี สามารถสูงได้ถึง 5 เมตร ออกดอกเป็นช่อเดียว บริเวณปลายกิ่ง มีสีเหลืองคล้ายดอกทานตะวัน แต่มีขนาดเล็กกว่า ดอกวงนอกเป็นหมัน กลีบเรียวมีประมาณ 12–14 กลีบ ดอกวงในสีเหลืองส้มเป็นดอกสมบูรณ์เพศ ใบของบัวตองเป็นใบเดี่ยว รูปไข่หรือแกมขอบขนาน มีขนขึ้นเล็กน้อย
ประปราย บริเวณ ปลายใบเว้า มีขนขึ้นเล็กน้อยประปราย ปลายใบเว้าลึก 3–5 แฉก ชอบขึ้นในพื้นที่ที่มีอากาศเย็น จะออกดอกสวยงามที่สุดบนยอดดอยที่สูงกว่า 800 เมตรขึ้นไป โดยจะออกดอกในช่วงระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงต้นเดือนธันวาคมเท่านั้น ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด






นางพญาเสือโคร่ง



นางพญาเสือโคร่ง
เป็นพืชดอกในสกุล Prunus ออกดอกช่วงเดือนกุมภาพันธ์ พบทั่วไปบนดอยสูง เช่น ภูลมโล จังหวัดเลย, ดอยแม่สลอง จังหวัดเชียงราย, ดอยเวียงแหง ขุนช่างเคี่ยน ขุนแม่ยะ จังหวัดเชียงใหม่, ขุนสถาน ดอยวาว ดอยภูคา และมณีพฤกษ์ จังหวัดน่าน โดยเป็นดอกไม้ประจำอำเภอเวียงแหง นางพญาเสือโคร่ง เป็นพรรณไม้ที่มีการกระจายพันธุ์ตามธรรมชาติอยู่ที่ตอนเหนือของประเทศไทย ทางตอนใต้ของประเทศจีน ญี่ปุ่น ไต้หวัน และถูกนิยมเรียกว่า"ซากุระเมืองไทย" เพราะมีลักษณะคล้ายซากุระ แม้จะเป็นคนละชนิดกันก็ตาม
ผลของนางพญาเสือโคร่งสามารถนำมารับประทานได้ มีรสเปรี้ยว ส่วนเนื้อไม้และการใช้ประโยชน์ ด้านอื่นยังไม่มีการบันทึกข้อมูลไว้ นอกจากการนำมาปลูกเป็นไม้ประดับ เนื่องจากมีดอกสวยงาม


พวงแสด



พวงแสด
ไม้เถาเลื้อย เนื้อแข็ง อายุหลายปี ใช้มือพันเลื้อยพัน กิ่งก้านเป็นเหลี่ยม ใบเป็นใบประกอบ เรียงสลับ มีใบย่อย 3 ใบ ในใบย่อยบางชุดใบกลางจะเปลี่ยนเป็นมือพัน ใบย่อย รูปไข่ กว้าง 2-3 เซนติเมตร ยาว 4-5 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบมน ขอบใบเรียบ ดอกสีส้มอมเหลือง ออกเป็นช่อแบบช่อกระจุกแยกแขนงตามซอกใบใกล้ปลายกิ่ง ช่อละ 10-30 รูปเข็ม โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดยาว 3-6 เซนติเมตร ปลายแยก 5 กลีบ รูปแถบยาว และม้วนงอไปด้านหลัง มีขนละเอียด ดอกบานเต็มที่กว้าง 1.5-2 เซนติเมตร ออกดอกช่วงเดือน ธ.ค.-ม.ค. ผลแห้งแตก เป็นฝักยาว 15-20 เซนติเมตร เมล็ดกว้างประมาณ 1 เซนติเมตร ยาวประมาณ 3.5 เซนติเมตร

เบญจมาศ


เบญจมาศ
เบญจมาศเป็นไม้ล้มลุกขนาดเล็กที่มีดอกสีสันสดใสที่นิยมนำมาปลูกเป็นไม้ประดับกลางแจ้ง ใช้คลุมดินตามแนวทางเดินหรือริมรั้วเพราะเป็นต้นไม้ที่ชอบแดดแต่ก็สามารถนำมาปลูกเป็นไม้ประดับภายใน อาคารได้ และมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ก็สามารถออกดอกได้สวยงาม จึงเป็นที่นิยมนำมาเป็นไม้ประ ดับภายในเพื่อสร้างสีสันสดใสให้กับสถานที่ แต่มีน้อยคนนักที่จะรู้ว่าเบญจมาสเป็นไม้ประดับที่มีความ สามารถสูงมากในการดูดสารพิษภายในอาคาร
เบญจมาศเป็นไม้ขนาดเล็กสูงประมาณ 1 - 3 ฟุต ตามกิ่งก้านและลำต้นมีขนละเอียด ใบเรียวรี ขอบใบหยัก ใบสีเขียวอ่อนนุ่มมีขนอ่อนๆทั่วทั้งใบ ดอกกลม กลีบใบจะซ้อนๆกันมีหลากหลายสี สีแดง สีบานเย็น สีขาว สีม่วง น้ำเงิน สีเหลือง เบญจมาศเป็นไม้กลางแจ้งที่ชอบแดด ต้องการน้ำปานกลาง และความชื้นอย่างสม่ำ
เสมอ ดังนั้นเมื่อนำมาปลูกภายในอาคารจึงควรตั้งไว้ในที่ๆแสงแดดส่องถึง รดน้ำอย่างสม่ำเสมอก็จะสามารถ ออกดอกได้ตลอดทั้งปี
นอกจากดอกที่มีสีสันสดใส ทำให้บรรยากาศภายในสดชื่นสว่างไสว ชึ่งเป็นลักษณะเด่นของเบญจมาศแล้ว เบญจมาศยังเป็นไม้ประดับที่มีความน่าสนใจมาก อันเนื่องมาจากประสิทธิภาพในการดูดสารพิษสูงมาก จำพวกสารพิษ ฟอร์มาดีไฮด์ เบนซีน และแอมโมเนีย จึงไม่ควรมองข้ามที่จะหาเบญจมาศมาปลูกในสำ นักงานหรือบ้านเรือน
เบญจมาศ มีดอกเป็นแบบ “head”ประกอบด้วยดอกเล็ก ๆ เป็นจำนวนมาก ดอกที่อยู่รอบนอกจะมีการเจริญเติบโตที่ดีกว่า มองเห็นกลีบดอกได้ชัดเจนกว่า เรียกว่า ray florets ซึ่งเป็นดอกแบบ imperfect คือมีแต่เกสรตัวเมียไม่มีเกสรตัวผู้ ดอกที่อยู่วงในเข้าไปและมีการเจริญเติบโตช้า มองเห็นกลับดอกไม่ชัดเจน เพราะมีกลีบดอกสั้น รวมกันอยู่เป็นกระจุกตรงกลางของดอก เบญจมาสเป็นไม้เนื้ออ่อน และเป็นพืชหลายฤดู แต่นิยมปลูกเป็นไม้ล้มลุก มีอายุ 90-150 วันและเป็นพืชไวต่อความยาวของวันหรือช่วงแสง

เสี้ยวดอกขาว


เสี้ยวดอกขาว
ต้นสูง 5 – 10 เมตร ผลัดใบ เรือนยอดกลม ใบเดี่ยวค่อนข้างกลม ปลายและโคนใบเว้า คล้ายใบแฝดติดกัน ใต้ใบมีขน ออกดอกเป็นช่อที่ซอกใบและปลายกิ่ง 6 – 10 ดอก มี 5 กลีบคล้ายดอกกล้ายไม้มีกลิ่นหอมอ่อนๆ ออกดอกตลอดปี ดอกดกช่วงเดือนพฤศจิกายน – มีนาคม ผลเป็นฝักแบน เมื่อแก่จะแตกเป็น 2 ซีกดอก 
    ออกเป็นช่อยาวคล้ายหางกระรอก ออกตามง่ามใบแห่งละ 2 - 5 ช่อ ดอกย่อยไม่มีก้าน ช่อดอกเพศผู้ยาว 5 - 8 ซม. กลีบรองดอกเป็นรูปโล่หรือกลม มีแกนอยู่ตรงกลาง ปลายค่อนข้างแหลม มีขนที่ขอบเกสรเพศผู้ 4 - 7 อันติดอยู่ที่แกนกลาง ช่อดอกเพศเมียยาว 3 - 9 ซม. กลีบรองดอกไม่มีก้าน มี 3 หยัก ด้านนอกมีขน รังไข่แบน กรอบนอกเป็นรูปไข่ หรือเกือบกลม มีขน ท่อรังไข่ยาวกว่ารังไข่เล็กน้อย

กล้วยไม้


กล้วยไม้
กล้วยไม้เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว ในวงศ์ Orchidaceae เป็นไม้ตัดดอกยอดนิยม เนื่องจากมีลักษณะดอกและสีสันลวดลายสวยงาม เป็นไม้ตัดดอกที่มีอายุการใช้งานได้นาน กล้วยไม้เป็นพืชเศรษฐกิจที่มีความสำคัญของไทย เพราะเป็นไม้ส่งออกขายต่างประเทศทำรายได้เข้า ประเทศปีละหลายร้อยล้านบาท มีการปลูกเลี้ยงอย่างครบวงจร ตั้งแต่การผสมเกสร เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เลี้ยงลูกกล้ายไม้ เลี้ยงต้นกล้ายไม้จน กระทั่งให้ดอก ตัดดอกบรรจุหีบห่อและส่งออกเอง
แหล่งกำเนิดกล้วยไม้ป่าที่สำคัญของโลกมี 2 แหล่งใหญ่ๆ ด้วยกันคือ ลาตินอเมริกา กับเอเชียแปซิฟิค สำหรับในลาตินอเมริกาเป็น อาณาบริเวณอเมริกากลางติดต่อกับเขตเหนือของอเมริกาใต้ ส่วนแหล่งกำเนิดกล้วยไม้ป่าในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิค มีประเทศไทยเป็นศูนย์กลาง จากการค้นพบประเทศไทยมีพันธุ์กล้วยไม้ป่าเป็นจำนวนมาก แสดงให้เห็นว่าประเทศไทยมีสภาพแวดล้อมเอื้ออำนวยต่อการเจริญงอกงามของ กล้วยไม้มาก และกล้วยไม้ป่าที่ในพบในภูมิภาคแถบนี้มีลักษณะเด่นที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง
แตกต่างจากกล้วยไม้ใภูมิภาคลาตินอเมริกา


กุหลาบพันปี


กุหลาบพันปี
กุหลาบพันปีเป็นไม้พุ่มสูงประมาณ 1-3 เมตร ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับรูปรีแกมรูปไข่กลับ กว้าง 1-2.5 ซม. ยาว 2-6 ซม. แผ่นใบเหนียวหนา มีขนประปรายทั้ง 2 ด้าน
ดอกสีชมพู สีแดง สีเหลือง สีม่วง สีฟ้า และสีส้ม ออกเป็นช่อที่ซอกใบหรือปลายกิ่ง จำนวน 2-7 ดอก กลีบรองดอกรูปถ้วยตื้น
ปลายแยกลีบดอกรูปกรวย ยาว 2-3 ซม. ปลายแยก 5 แฉก เกสรตัวผู้ 10 อัน ผลรูปไข่ ยาว 1-1.5 ซม. มีขนสีน้ำตาลแดง เมื่อแก่แตกตามยาว เมล็ดแบน ขนาดเล็ก มีปีกบางใสจำนวนมาก
ธรรมชาติของอาซาเลียเป็นต้นไม้ที่เติบโตในที่สูง ชอบอากาศเย็นตลอดปี มีน้ำมากแต่ไม่ถึงแฉะขัง ชอบดินร่วนซุย อุ้มน้ำได้ดีพอควร ค่า Phราว  4.5-6.0 แสงรำไรและอากาศถ่ายเทดอก 5 แฉก ด้านนอกมีขน

วิธีการดูแลต้นไม้ฤดูหนาว

วิธีการดูแลต้นไม้ฤดูหนาว
 เมื่อย่างเข้าสู่ฤดูหนาว สวนของใครที่เต็มไปด้วยไม้ดอก ก็คงมีความสุข เพราะ ไม้ดอกส่วนใหญ่มักจะเจริญเติบโตได้ดี เนื่องจากอากาศที่เย็นจะทำให้อัตราการแตกดอกสูงขึ้น แต่เนื่องจากฤดูหนาว อากาศจะแห้ง ความชื้นในอากาศจะลดต่ำลง สวนที่เป็นไม้เขตร้อน มักจะเข้าสู่ระยะพักตัว มีการผลัดใบ เพื่อลดการคลายน้ำ ให้น้อยลง ดังนั้นหากสวนของใครเต็มไปด้วยไม้เมืองร้อน ฤดูหนาวคงเป็นช่วงเวลาที่สวนของใครหลายๆ คนไม่น่าดูเท่าไหร่นัก วันนี้ฉันจึงนำวิธีการดูแลรักษาต้นไม้ในหน้าหนาวมาฝากกันค่ะ
 หัวใจสำคัญของการดูแลต้นไม้หน้าหนาวก็คือ การรักษาความชุ่มชื้นให้กับต้นไม้ หาวัสดุอย่างเช่น ฟางข้าว หรือเปลือกถั่ว มาคลุมหรือโรยบริเวณโคนต้นไม้ หรือแปลงปลูก เพื่อเก็บรักษาความชื้นในดิน
ทำการรดน้ำให้ถี่ขึ้น แต่อย่าใช้วิธีปล่อยน้ำแช่ตลอดเวลา เพราะดินจะแฉะจนเกินไป ควรปล่อยให้พื้นดินแห้งบ้าง เพื่ออากาศสามารถลงแทรกไปในดินได้บ้าง เพื่อให้รากสามารถได้รับอากาศด้วย นอกจากนี้ การรอน้ำต้นไม้ด้วยสปริงเกิล ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งซึ่ง นอกเหนือจากจะเป็นการรดน้ำตามปกติ ยังเป็นการเพิ่มความชื้นในอากาศได้ด้วย
 การตัดแต่งกิ่งก็เป็นอีกวิธีหนึ่ง ที่จะช่วยให้ต้นไม้ลดการคลายน้ำลงได้ และช่วยลดภาระให้ต้นไม้ไม่ต้องลำเลียงอาหารไปเลี้ยงส่วนต่างๆ มากนัก โดยเลือกตัดแต่งกิ่งที่ไม่ได้รูปทรงเพื่อให้ได้ทรงพุ่มตามต้องการ กิ่งที่ผุ หรือแห้ง ทั้งนี้เพื่อเป็นการป้องกันอันตรายที่เกิดจากกิ่งไม้หล่น เนื่องจากลมที่พัดแรงในหน้าหนาว
 สำหรับในเรื่องของการให้ปุ๋ยแก่ต้นไม้ในช่วงฤดูหนาว จะต้องให้ปุ๋ยด้วยความระมัดระวัง การให้ปุ๋ยจะแตกต่างจากการให้ปุ๋ยในช่วงฤดูฝนซึ่งสามารถให้ปุ๋ยได้บ่อยครั้ง แต่เนื่องจากอากาศที่เย็นจะทำให้ปุ๋ยแตกตัวได้น้อยลง จึงทำให้ปุ๋ยมีโอกาสตกค้างในดินเป็นปริมาณมาก มีโอกาสที่จะทำให้ดินเค็ม ดังนั้นเมื่อทำการให้ปุ๋ยควรจะทำการรดน้ำด้วยปริมาณที่มากกว่าเดิม หรือลดปริมาณปุ๋ยเคมีลงและหันไปใช้ปุ๋ยอินทรีย์แทน